วันอังคารที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2556

ความสุขของกะทิ

 


      เป็นงานเขียนของงามพรรณ เวชชาชีวะเสนออารมณ์อันละเอียดอ่อนลึกซึ้งของผู้หญิงการตัดสินใจเลือกทางเดินชีวิตของตนเองโดยแสดงให้เห็นว่าอารมณ์นั้นเป็นรากฐาน ของเหตุผลตลอดจนอธิบายความรักในหลายรูปแบบต่างๆปรากฏไว้ในเรื่องนี้อีกด้วย
ประวัติงามพรรณ  เวชชาชีวะงามพรรณ เวชชาชีวะ เกิดที่กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษเมื่อ พ.ศ. 2506 จบการศึกษาระดับปริญญาตรีจากภาควิชาภาษาฝรั่งเศส คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง) พ.ศ. 2528 และประกาศนียบัตรการแปล (ฝรั่งเศส อังกฤษ อิตาเลียน) จากโรงเรียนล่ามและแปลของรัฐบาลเบลเยี่ยม ณ กรุงบรัสเซลล์ พ.ศ. 2530 เริ่มทำงานครั้งแรกในตำแหน่งเจ้าหน้าที่แปลของบริษัท มีเดียโฟกัส ก่อนจะเป็นเจ้าของและบรรณาธิการ นิตยสารเพื่อนใหม่ นิตยสารสำหรับเด็กก่อนวัยรุ่น  ปัจจุบันเป็นกรรมการผู้จัดการบริษัท ซิล์คโรดพับบลิเชอร์ เอเยนซี จำกัด ดูแลลิขสิทธิ์วรรณกรรมให้กับนักเขียนและต่างประเทศ
งามพรรณมีผลงานแปลจากภาษาอังกฤษ ภาษาฝรั่งเศส และภาษาอิตาเลียนตีพิมพ์กว่า 20 เรื่อง  ผลงานตีพิมพ์ล่าสุด คือ ปริศนาในสายลมร้อน จัดพิมพ์โดย แพรวสำนักพิมพ์ และ แสนสุขเสมอในโปรวองซ์ จัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์มติชน นอกจากนี้ยังเป็นผู้บรรยายพิเศษด้านการแปลและลิขสิทธิ์ให้กับสถาบันศึกษาและมหาวิทยาลัยต่างๆและกรรมการตัดสินการประกวดนิทาน และเรื่องแต่งสำหรับเยาวชน เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542 ได้รับอิสริยาภรณ์ศิลปะและอักษรศาสตร์ชั้นอัศวิน (Chevalier de l’Ordre des Arts et des Lettres) จากกระทรวงวัฒนธรรม ประเทศฝรั่งเศส ในฐานะผู้มีผลงานด้านวรรณกรรมและเผยแพร่วัฒนธรรมฝรั่งเศส
      ความสุขของกะทิ เป็นผลงานประพันธ์เล่มแรก จัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์แพรว ผลงานเรื่องนี้ได้รับการแปลและการตีพิมพ์ในภาษาอังกฤษ เยอรมัน และญี่ปุ่น ฉบับภาษาฝรั่งเศสและภาษาคาตาลันมีกำหนดจัดพิมพ์ภายในปีนี้
เนื้อเรื่อง
       กะทิเป็นเด็กผู้หญิงคนหนึ่งที่ต้องจากกับแม่ตั้งแต่ยังเด็ก ซึ่งแม่ของเขาไม่เคยสัญญาว่าจะกลับมา เขาอาศัยอยู่กับตายายที่บ้านริมคลอง กะทิรอแม่ทุกวัน ทุกๆเช้าเสียงของกระทะกับตะหลิวที่ยายทำกับข้าวจะปลุกให้กะทิตื่นขึ้นทุกวัน ภาพในบ้านไม่มีรูปถ่ายของแม่เลย ไม่เคยมีใครพูดถึงแม่ของเขา ซึ่งตอนนี้กะทิก็จำหน้าของแม่ไม่ได้แล้ว ทุกวันที่กะทิไปโรงเรียนยายจะทำสารพัดเมนูไข่ใส่ปิ่นโตให้กะทิไปกินที่โรงเรียน กะทิอยากให้แม่ไปรับเขาที่โรงเรียนบ้าง ละกะทิก็มีพี่ทองที่เป็นเด็กวัดเป็นเพื่อนมาตั้งแต่เด็ก วันหนึ่งกะทิได้ปีนเข้าไปเล่นในโอ่งแล้วได้ยินเสียงของตาพูดกับใครคนหนึ่งทางโทรศัพท์ว่า จะให้รอจนโรงเรียนเปิดเทอมก่อนหรือ เรามีเวลานานขนาดนั้นจริงหรือกะทิใช้ชีวิตตามประสาเด็กธรรมดาคนหนึ่ง จนกระทั่งวันหนึ่งยายถามเขาว่า กะทิอยากไปหาแม่ไหมลูกจากนั้นตาก็เดินเข้ามาแล้วดึงกะทิเข้าไปกอด และบอกกับเขาว่า แม่ป่วย ป่วยมาก ไปรักษาตัวมาหลายแห่งแล้ว แต่ไม่หาย
     น้าฎาเป็นคนขับรถมารับกะทิและตายายไปหาแม่ที่บ้านชายทะเล นานหลายปีทีเดียวที่กะทิไม่ได้พบแม่ เมื่อเขากับแม่ได้เจอกัน เขาทั้งสองกอดกัน แล้วน้ำตาจากความดีใจก็ไหลรินรวมกัน ในตอนนี้ไม่มีใครรู้ว่าแม่ของเขาเหลือเวลาอีกนานเท่าไร ในตอนนี้เขาใช้ชีวิตอยู่ที่บ้านชายทะเลกับแม่ของเขาและแม่ก็เล่าให้เขาฟังว่าทำไมถึงต้องทิ้งเขามา เพราะตอนกะทิเด็กๆแม่ของเขาพากะทิไปพายเรือเล่นแล้วฝนตก ซึ่งตอนนั้นแม่ของเขาก็เริ่มป่วยแล้ว ขากลับแม่วางกะทิลงในเรือ แล้วหันไปปลดเชือกล่ามเรือ แต่ก็ทำเชือกหลุดมือ ตอนนั้นแม่ทำอะไรไม่ถูก ได้แต่อธิฐานให้กะทิปลอดภัย แล้วแม่จะไม่แตะต้องตัวกะทิอีก แล้วพี่ทองก็พายเรือผ่านมาช่วยกะทิไว้ แล้วแม่ของเขาก็ทำตามที่พูดไว้ จากวันนั้นแม่ของเขาก็โคม่าอยู่สามวันก่อนจะจากไปอย่างสงบ
     พอเสร็จจากงานศพของแม่ กะทิก็เดินทางมาที่บ้านกลางเมืองและเขาได้เข้าไปภายในห้องชั้นบน ซึ่งมีลิ้นชักใหญ่เล็กที่กินเนื้อที่ของผนังตลอดแนว ลุงตองบอกว่าแม่จัดห้องนี้เอง แม่รวบรวมทุกอย่างไว้ที่นี้ ลิ้นชักทุกลิ้นชักมีเลข พ.ศ. กำกับไว้ตั้งแต่แม่เกิด แล้วลุงตองก็ได้ให้จดหมายจ่าหน้าซองถึงพ่อของกะทิ ลุงตองบอกว่าเพียงหย่อนจดหมายนี้ลงตู้กะทิก็จะได้พบพ่อ ทุกคนรอการตัดสินใจของกะทิว่าจะส่งจดหมายหรือไม่ กะทิขอให้ น้าฎาพาไปที่ตู้ไปรษณีย์เพื่อส่งจดหมาย และกะทิก็รออีก 7 วันตามที่แม่บอกไว้ แต่ไม่มีจดหมายตอบกลับจากพ่อ กะทิจึงกลับไปอยู่ที่บ้านริมคลองกับตายาย พี่ทองกลับมาจากต่างประเทศแล้วและพี่ทองก็ซื้อหนังสือดูดาวมาฝากกะทิ ภายในหนังสือมีโปสต์การ์ดลายมือพี่ทองจ่าชื่อที่อยู่ของกะทิ คืนนั้นกะทิใส่โปสต์การ์ดลงไปรวมกับจดหมายของแม่ที่เขียนถึงพ่อ จดหมายฉบับที่กะทิตัดสินใจไม่ส่งไปหาพ่อ
     กะทิกราบพระก่อนนอน พรุ่งนี้ต้องตื่นแต่เช้าไปโรงเรียน ทุกอย่างเหมือนเดิมไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง แล้วเสียงตะหลิวของยายก็ปลุกกะทิขึ้นมาพบกับโลกใบนี้อีกครั้ง

ลักษณะนิสัย
      การวิเคราะห์เชิงจิตวิทยามีหลักวิชาเป็นที่ยึดอยู่ แต่จิตวิทยานั้นคือวิชาว่าด้วยพฤติกรรมทางจิตใจของมนุษย์ และพฤติกรรมทางจิตใจนั้นตามธรรมดาย่อมรู้ได้โดยทางวาจาหรือทางการกระทำเท่านั้น เรื่องของกะทิ เด็กผู้หญิงที่แม่ตายจากเธอไปตั้งแต่ยังเล็กด้วยโรคร้าย เธอใช้ชีวิตอยู่กับตายายผู้หันหลังให้ชีวิตของคนเมืองมาอยู่ในชนบท และผู้ใหญ่ใจดีที่อยู่รายล้อมเธอ กะทิต้องเรียนรู้ที่จะจัดการกับความทุกข์อันเนื่องมาจากมรณกรรมของแม่ การอยู่โดยปราศจากพ่อ รวมไปถึงการเติบโตตามแนวทางของเด็กผู้หญิงที่ ดี
ชีวิตผู้หญิงในนวนิยายมีหลากหลาย เช่น ณภัทรแม่ของกะทิ ผู้หญิงเก่งที่พยายามจะเป็นแม่ที่เลี้ยงลูกเพียงลำพัง (single mom) ตัวกะทิเองผู้เป็นเด็กหญิงที่เลือกทางเดินชีวิตโดยปฏิเสธการติดต่อกับพ่อ ยายที่เนรมิตอาหารทุกอย่างได้ น้าฎาผู้หญิงทำงานคล่องการดำเนินชีวิตของตัวละครหญิงทุกคนในเรื่องดูเหมือนเป็นผู้หญิงยุคใหม่ที่สลัดตัวออกจากการควบคุมของคนอื่น ไม่ใช่ผู้หญิงในยุคขุนช้างขุนแผนที่เลือกอะไรไม่ได้สักอย่าง ฝ่ายตัวละครอื่นๆ ก็แสดงอารมณ์อย่างเต็มที่ดังตอนที่ยายเดินทางไปพบแม่ของกะทิที่บ้านชมคลื่น ยายที่เคยจัดการทุกอย่างในบ้านได้และน้าฎาที่เป็นหญิงเก่งในสายตากะทิกลับดูอ่อนแรงไปถนัดตา เป็นครั้งแรกที่กะทิเห็นตาจูงมือยาย ยายบีบหูตะกร้าจนข้อนิ้วเป็นสีขาว ปลายนิ้วของน้าฎาเย็นจัดเมื่อสัมผัสอุ้งมืออุ่นๆของกะทิ” (46) เมื่อมีฉากเศร้ารวมหมู่สิ่งที่กะทิเห็นคือ น้าฎา กอดยายร้องไห้จนตัวสั่น น้ำตาไหลอาบแก้มลุงตอง น้ากันต์กับตายืนหันหลัง” (56) ตัวอย่างนี้แสดงให้เห็นว่าฝ่ายหญิงฟูมฟายน้ำตากันเต็มที่ น้ากันต์เป็นคนเดียวที่กะทิไม่เคยเห็นแสดงอารมณ์หรือน้ำตา แต่ในแสงสลัวของห้องพักคนเจ็บ กะทิเห็นไหล่ทั้งคู่ของน้ากันต์สั่นสะท้าน สุดท้ายกะทิเห็นน้ากันต์ซบตัวลงข้างตัวของแม่อยู่เนิ่นนาน” (73) การที่น้ากันต์ร้องไห้ ต้องการเสนอว่าอารมณ์ในเรื่องขณะนั้นบีบคั้นรุนแรงถึงขีดสุด ผู้ชายที่ร้องไห้ถูกตามกาลเทศะจะได้รับการอภัย ยิ่งไปกว่านั้นยังจะช่วยเติมเต็มจินตนาการของผู้หญิงในสังคมชายเป็นใหญ่ทั้งหลายว่ายังมีผู้ชายที่อ่อนไหวและดูเหมือนจะเข้าใจพวกเธอได้อย่างลึกซึ้งอยู่ (โปรดสังเกตตัวอย่างในละครและภาพยนตร์เกาหลี)

กลวิธี
    เสน่ห์ของนวนิยายขนาดสั้นเรื่องนี้อยู่ที่วิธีการเล่าเรื่อง ที่ค่อยๆ เผยปมปัญหาทีละน้อย ๆ อารมณ์สะเทือนใจจะค่อยๆ พัฒนาและดิ่งลึกในห้วงนึกคิดของผู้อ่าน นำพาให้ผู้อ่านอิ่มเอมกับรสแห่งความโศกอันเกษม ที่ได้สัมผัสประสบการณ์ทางอารมณ์ของชีวิตเล็กๆ ในโลกเล็กๆ ของเพื่อนมนุษย์คนหนึ่ง ซึ่งอาจไม่ไกลจากชีวิตจริงของเราเลย
      การใช้ภาษาง่ายๆ แต่ให้อารมณ์ รวมถึงรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ ที่ใส่เข้ามาประดับเรื่องได้อย่างน่าสนใจ ไม่มีอะไรวุ่นวายให้ปวดหัว จุดเด่นของ ความสุขของกะทิจึงไม่ได้อยู่ที่การสร้างเรื่องให้มีเงื่อนปมอีรุงตุงนัง ต้องตามค้นตามแก้กันอุตลุด แต่อยู่ที่อารมณ์ความรู้สึก ซึ่งสอดแทรกอยู่ในแต่ละบรรทัด อ่านแล้วรู้สึกอิ่มเอมด้วยหลากหลายความรู้สึก อย่างในช่วงที่เป็นเวลาแห่งความสุข ก็อดที่จะอมยิ้มไม่ได้ ในขณะที่เมื่อถึงเวลาเศร้า ก็ไม่อาจข่มความเศร้าไว้ได้เช่นกัน ความสุขของกะทิถูกแบ่งออกเป็นสามส่วนใหญ่ๆ โดยใช้ฉากเป็นตัวแบ่งเรื่อง ได้แก่ บ้านริมคลอง, บ้านชายทะเล และ บ้านกลางเมือง ในช่วงเวลาสั้นๆ ครั้งหนึ่งในชีวิต เด็กน้อยกะทิได้ไปพักอยู่ในสถานที่ทั้งสาม เพื่อพบคำตอบบางอย่าง ซึ่งรอคอยเธอมาเนิ่นนาน นั่นก็คือ ความลับเกี่ยวกับแม่ผู้กำลังจะจากโลกนี้ไป
      การใช้กลวิธีเขียนคือเขียนน้อยแต่ได้มาก แต่ละบทใน ความสุขของกะทิเริ่มด้วยความนึกคิดที่กะทิมีต่อแม่ ไม่ว่าจะเป็น แม่ไม่เคยสัญญาว่าจะกลับมา”, “กะทิรอแม่ทุกวัน”, “ในบ้านไม่มีรูปถ่ายแม่เลย”, “ไม่เคยมีใครพูดถึงแม่”, “กะทิจำหน้าแม่ไม่ได้แล้วฯลฯ ข้อความสั้นๆ ที่ปะหัวมานี้ ก็ทำให้เรารับรู้ได้ถึงปมปัญหา ซึ่งเด็กเล็กๆ อย่างกะทิต้องเผชิญ โดยไม่จำเป็นต้องเขียนแบบฟูมฟาย หรือให้ตัวละครร้องห่มร้องไห้จนน้ำตาท่วมหนังสือ

บทวิจารณ์
      เป็นงานเขียนที่มีเนื้อหาเรียบง่าย บ่งบอกรายละเอียดในชีวิตประจำวันของเด็กคนหนึ่ง ใช้ภาษาได้ดี อ่านเข้าใจง่าย มีการสอดแทรกวัฒนธรรม ประเพณีและคติสอนใจ แง่คิดต่างๆไว้อีกด้วยและเนื่องด้วยเนื้อหาเป็นลักษณะเขียนเป็นตอนๆ อ่านแล้วจะขาดความต่อเนื่องบ้าง ดังนั้นผู้อ่านที่ชอบอ่านหนังสือนิยาย อาจจะรู้สึกขัดๆ บ้างเพราะเกิดความไม่ต่อเนื่อง
      ในเรื่องนี้ที่บอกไว้คือแบบออกเป็น 3 ช่วงหลักๆคือ 1) ช่วงที่อาศัยอยู่บ้านริมคลอง - ช่วงนี้เนื้อเรื่องจะดำเนินไปแบบสบาย ๆ ให้เราได้รู้จักกะทิในเบื้องต้น ตอนท้ายเริ่มมีปมปัญหาให้ขับคิด เพื่อเชื่อมต่อกับการเดินทางไป บ้านชายทะเล ใน บ้านริมคลองซึ่งแบ่งซอยเป็นบทย่อยๆ 9 บท คือ กระทะกับตะหลิว ปิ่นโตกะละมังกับไม้หนีบผ้า เรืออีแปะ ศาลาริมน้ำ โอ่งและอ่าง  กระต่ายขูดมะพร้าว  ไม้ขัดหม้อ และสุดท้ายกระถางธูปต่างละเหตุการณ์ต่างๆ ไม่ได้ชวนให้รู้สึกถึงความเศร้าเลย ความสัมพันธ์ระหว่างเด็กหญิงกะทิ ยาย ตา เพื่อน ครู และ ฯลฯ ภายในวิถีชีวิตแบบไทยๆ ดูน่ารักและแสนสุขมากเกินจะบรรยาย ณ จุดที่ความสุขอยู่รายล้อม กลับเหมือนมีบางอย่างมาสะกิด ให้ต้องคิดไปว่าลึกๆ แล้ว มีปัญหาบางอย่างซุกซ่อนอยู่ ใต้ผืนผ้าแห่งความสุขที่ห่มคลุมนั้น
        ในช่วงแรกนี้สะท้อนให้เห็นคุณค่าทางสังคม เราสามารถนำมาเป็นแบบอย่างในชีวิตสังคมปัจจุบันได้ ซึ่งเป็นวิถีชีวิตแบบเรียบง่าย สะท้อนให้เห็นความรักและผูกพัน ซึ่งเป็นสายใยของคนในครอบครัว รวมทั้งแฝงปรัชญาการใช้ชีวิต เปี่ยมไปด้วยกลิ่นไอของความเป็นไทยที่โดดเด่นและช่วยผ่อนคลายสังคมซึ่งในต่างจากสังคมในปัจจุบันของเรา
2) บ้านชายทะเล  เรื่องราวใสกระจ่างเริ่มมัวหม่นลง เมื่อกะทิได้เดินทางไปยัง บ้านชายทะเลซึ่งเป็นสถานที่ที่แม่ใช้รักษาตัว หรือถ้าจะให้ถูกต้องกว่านั้น คือ ใช้ช่วงเวลาที่เหลืออยู่อย่างสงบ แม้กะทิต้องมาเห็นภาพสุดท้ายของแม่ และความตายที่พรากแม่ไป เด็กน้อยผู้นี้ก็คงยังยืนหยัดอยู่ได้อย่างเข้มแข็ง โดยมีความรักจากคนรอบข้างเป็นเครื่องประคับประคอง ความรักเป็น กุญแจสำคัญที่ทำให้ ความสุขของเด็กอย่างกะทิบังเกิดขึ้น
ส่วนในตอนนี้ จะสอดแทรกความรู้ ที่น่าสนใจอยู่หลายเรื่อง ยกตัวอย่างในตอนที่ว่า
รถวิ่งลงใต้ ซ้ายมือเป็นทะเลและหาดทราย ขวามือเป็นทิวเขาที่เห็นอยู่ไกลๆ เสียงยายกับตาพูดคุยกันเบาๆอยู่เบาะหลังและน้าฎาพูดโทรศัพท์มือถือเป็นระยะ  ฟังแล้วกะทิก็รู้ว่าอีกไม่ไกลกะทิก็จะได้พบแม่
      ตาเรียกต้นหางนกยูงว่า เพลิงแห่งพนาไพรกะทิรู้ชื่อเต็มๆ คือหางนกยูงฝรั่ง ถ้าเป็นต้นหางนกยูงพันธุ์ไทย  ดอกจะมีหลายสี  ทั้งเหลือง  ชมพู  และแดง และนอกจากนั้นก็ยังมีความรู้เกี่ยวกับต้นสน  ความรู้เกี่ยวกับบ้านทรงไทย 
เมื่อเรื่องราวมาถึงส่วนสุดท้ายคือ 3) บ้านกลางเมือง
ความรักให้ยิ่งมั่นคงขึ้น สิ่งที่กะทิได้เห็นหลังจากแม่ตาย ก็คือ บ้านซึ่งเต็มไปด้วยเรื่องราวแห่งความหลัง แม่ได้เก็บสะสมสิ่งต่างๆ ที่เกี่ยวข้องแม่ไว้ที่นี่ สิ่งของแต่ละอย่างเสมือนพูดแทนแม่ ว่าแต่ละช่วงชีวิตแม่ผ่านอะไรมาบ้าง โดยเฉพาะเรื่องความรักกับชายผู้จากไป และผลผลิตแห่งความรักในครั้งนั้น นั่นก็คือ กะทิผู้เป็นดวงตาดวงใจของแม่ นอกจากนี้ แม่ยังเขียนจดหมายไว้ฉบับหนึ่ง จ่าหน้าซองถึงพ่อของมะลิ จดหมายฉบับนี้จะนำพาให้มะลิได้พบพ่ออีกครั้ง โดยมีเงื่อนไขว่ากะทิจะต้องตัดสินใจเอง ว่าอยากส่งจดหมายไปถึงพ่อหรือไม่ ซึ่งนี่ถือเป็นการตัดสินใจครั้งสำคัญที่สุดในชีวิตกะทิ
และในช่วงตอนที่ 3 นี้ผู้เขียนยังแสดงให้เราเห็นถึงความทรงจำที่ซ่อนอยู่ภาพในใจของตัวละครซึ่งถูกปลุกให้ตื่นจากการหลับ ซึ่งความทรงจำนั้นไม่ใช่คน แต่เป็นกลับแสดงกิริยาของคน
ยกตัวอย่างดังในตอนที่ว่า
สถานที่แห่งนี้อวลกลิ่นอายของแม่อย่างไม่ต้องสงสัยมีอะไรหลายอย่างที่คุ้นตาคุ้นใจ ของกะทิอย่างประหลาด  คงจะมีส่วนเสี้ยวของความทรงจำที่ซุกซ่อนอยู่ในซอกหลืบเล็กๆและบัดนี้ถูกปลุกให้ตื่นจากนิทรา”  จากหน้า 87
และนอกจากนี้ยังไม่การกล่าวเกินจริง ที่ว่ายายนั้นร้องไห้มากจนทำนบพัง
ยกตัวอย่างในตอนที่ว่า
ยายมาเห็นของพวกนี้เข้าก็มีหวังร้องไห้เป็นทำนบพังแค่วันก่อนตอนพับผ้าห่มผืนที่แม่ใช้ประจำยังแทบแย่  ตาส่ายหน้า  บอกว่าไม่ต้องดูหนังเรื่องธรณีกันแสงให้เสียเวลาหรอก  ดูยายนี่แหละจากหน้า 91
มีการเปรียบเทียบตัวเองเหมือนดังตัวละครในหนังสือ
ยกตัวอย่างในตอนที่ว่า
ครั้งหนึ่งแม่บอกว่าคนเราก็ไม่ต่างจากตัวละครในหนังสือ  ที่ต้องเผชิญกับเรื่องราวต่างๆในชีวิต  และเมื่อผ่านพ้นมาได้ก็จะมีความลึกในเนื้ออารมณ์  เป็นคนเต็มคนมากขึ้น  และมองทุกอย่างเปลี่ยนไปแม่ชอบใช้  คำใหญ่ ”  กับกะทิ   ฟังดูดี  แม้บางทีจะเข้าใจยากแต่  ณ  นาทีนี้   กะทิรู้สึกจริงๆว่าตัวเอง  โต”  ขึ้นจากหน้า 112
พร้อมทั้งมีคุณค่าแนวความคิดที่พ่อแม่ทั้งย่อมรักลูกมากที่สุดและลูกนั้นคือทุกสิ่งทุกอย่างของพ่อและแม่
ยกตัวอย่างในตอนที่ว่า
ยายมาเห็นของพวกนี้เข้าก็มีหวังร้องไห้เป็นทำนบพังแค่วันก่อนตอนพับผ้าห่มผืนที่แม่ใช้ประจำยังแทบแย่  ตาส่ายหน้า  บอกว่าไม่ต้องดูหนังเรื่องธรณีกันแสงให้เสียเวลาหรอก  ดูยายนี่แหละจากหน้า 91
แม่ไม่เคยพูดถึงพ่อให้น้าฟังเลย   น้าไม่เคยถาม  เพราะมารู้จักแม่ทีหลังแล้ว  แต่น้าก็ไม่คิดว่าแม่จะเกลียดใครนะโดยเฉพาะคนที่ทำให้แม่ได้หนูมา  แม่รักหนูมากจริงๆเลยพูดตลอดเวลาว่าหนูคือทุกอย่างในชีวิตแม่จากหน้า103
กะทิคิดถึงแม่เหลือเกิน  แม่เตรียมทุกอย่างไว้ให้กะทิแต่ก็ยอมให้กะทิตัดสินใจด้วยตัวเองไปพร้อมๆกัน”  จากหน้า  106
คุณค่าด้านแนวคิดว่าเราควรตอบแทนบุญคุณของผู้มีพระคุณ
ยกตัวอย่างในตอนที่
คุณหนูเป็นเด็กดีนะคะ  คุณแม่จะได้ดีใจหมดห่วง  มีอะไรให้ตุ๊กรับใช้   คุณกันต์ไม่ต้องเกรงใจนะคะตุ๊กยินดีคุณภัทรมีบุญคุณกับตุ๊ก ตุ๊กไม่เคยลืม   จากหน้า105
คุณค่าด้านแนวคิดว่าคนเราไขว่คว้าสิ่งที่อยู่ไกลตัว  จนลืมมองไปว่าสิ่งที่เราต้องการอาจเป็นสิ่งที่อยู่ใกล้ตัว
ยกตัวอย่างในตอนที่
คนบางคนวิ่งไล่ความฝันไปเรื่อยๆ  จนไม่รู้จริงๆว่าความฝันที่ว่าอยู่ใกล้ตัวนี่เอง”  จากหน้า  97
คุณค่าด้านแนวคิดที่ว่าการพนันนั้นเป็นหนทางแห่งความฉิบหาย  เราจึงไม่ควรเล่นการพนัน
ยกตัวอย่างในตอนที่ว่า
น้ากันต์มาบอกทีหลังว่าสามีของคุณตุ๊กติดการพนันมีเท่าไหร่ก็หมด  คุณตุ๊กจึงแยกทาง  และต้องเลี้ยงลูกชายตามลำพัง”  จากหน้า 106
คุณค่าแนวคิดว่าด้วยเราไม่ควรมีความโลภจนเกินตัว  ควรมีความพอเพียง  พอใจกับสิ่งที่ตนมี
ยกตัวอย่างในตอนที่ว่า
จักรวาลนี้กว้างใหญ่นัก  มนุษย์ตัวจ้อยจะมีอำนาจอะไร  เพียงแหงงนมองฟ้าก็จะปลดศักดาและความมุ่งหวังเกินตัวให้หมดสิ้นไปได้ในบัดดล  เหลือเพียงหัวใจดวงเล็กในอกที่เต้นอย่างเจียมตัวและใฝ่หาความสุขตามอัตภาพ  ไม่ต้องการสิ่งใดที่เป็นไปไม่ได้  ไม่ต้องการสิ่งใดที่อยู่ไกลตัว”  จากหน้า 110
คุณค่าด้านแนวคิดว่าบ้านคือสถานที่ทำให้เรามีความสุขมากที่สุด
ยกตัวอย่างในตอนที่ว่า
อ้อมแขนของตาและยายอบอุ่นและให้ความรู้สึกปลอดภัยเหมือนที่กะทิจำได้  ที่ไหนจะสุขใจเกินไปกว่าที่บ้านย่อมไม่มี  และบ้านริมคลองหลังนี้คือ บ้าน ของกะทิโดยแท้”  จากหน้า 112
คุณค่าแนวคิดว่าเราไม่ควรจมปลักอยู่กับความโศกเศร้าเสียใจ  ควรปล่อยให้มันเป็นแค่อดีตและดำเนินชีวิตต่อไปให้ดีที่สุด
ยกตัวอย่างในตอนที่ว่า
ยายไม่ปล่อยให้เวลาผ่านไปเปล่าๆกะทิรู้สึกว่าบรรยายกาศในบ้านไม่ถึงกับหมองเศร้าจนชวนหดหู่แม้จะมีรอยอาลัยจางๆในแววของตาและยาย  แต่ความเจ็บปวดและความหวาดกลัวในสิ่งที่ไม่อยากให้เกิดขึ้น  ทั้งๆที่รู้ว่าต้องเกิดขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้นั้นหายไปแล้ว
        จริงอย่างที่ตาพูด   มองไปข้างหน้าดีที่สุด”  จากหน้า 112


บทสรุป
วรรณกรรมเรื่องนี้สื่อถึงความรู้สึกของความรัก ความห่วงใย  อบอวลไปด้วยไออุ่นและรวมไปถึงความเสียใจ โดยผ่านวรรณกรรมเรื่องนี้ ทำให้เกิดความรักความผูกพันระหว่างกะทิและตัวละครเอกของเรื่องซึ่งความรักและความผูกพัน เป็นสายใยครอบครัวเล็ก เป็นวรรณกรรมที่ให้ทั้งความบันเทิงเรียกททั้งเสียงหัวเราะและน้ำตา ทำให้ผู้อ่านรู้สึกปริติ ยินดี อิ่มเอิ่มใจ
      เล่าเรื่องราวของกะทิอย่างเรียบง่าย เนรมิตบ้านริมคลองให้เป็นบ้านในฝัน ที่อบอวลด้วยบรรยากาศอันรื่นรมย์ของอดีต ฉายรายละเอียดสิ่งต่างๆทีละน้อย ของวิถีชีวิตที่สุขสงบของครอบครัวชนชั้นกลางระดับสูงให้ผู้อ่านประทับใจ
   กะทิมีครอบครัวที่เอาใจใส่ ดูแลกะทิด้วยความรัก และความห่วงใยจากใจจริง เธอมีคุณตาที่เคยเป็นทนาย ซึ่งสามารถเรียกเสียงหัวเราะจากกะทิและครอบครัวได้อยู่เสมอๆ คุณยายของกะทิเป็นคนที่เคร่งครัด และหัวโบราณ แต่ถึงกระนั้นก็สอนกะทิเรื่องต่างๆนานา อะทิเช่น การทำอาหาร การอยู่ในสังคม เป็นต้น พี่ทองเป็นคนที่เข้าอกเข้าใจกะทิเป็นอย่างดี และเป็นคนที่มีบุญคุณต่อกะทิ เพราะว่าพี่ทองเคยช่วยชีวิตกะทิไว้ตอนกะทิเป็นเด็กเล็ก น้าฏา และน้ากันต์ซึ่งเป็นคนที่ห่วงใยกะทิ และคอยหาสิ่งดีๆให้กะทิอยู่เสมอๆ และเป็นคนที่พูดปลอบใจกะทิในยามที่กะทิเศร้าโศกเสียใจ และที่ขาดไม่ได้ก็คือ แม่ของกะทิ ที่ถึงแม้จะจากไปก่อนวัยอันควรแต่ก็จัดสิ่งต่างๆไว้ให้กะทิอย่างดิบดี ด้วยความรัก และเอาใจใส่จากใจ
     แต่ในความสุขมีความเศร้า ในวิถีชีวิตที่สุขสงบนี้ กะทิต้องเผชิญประสบการณ์ทางอารมณ์ที่ต้องสูญเสียแม่ และในความเศร้านั้นก็มีความสุข กะทิไม่คิดจะโหยหาถึงพ่อที่อยู่ไกลโพ้นต่างแดน หากเลือกอยู่ในอ้อมกอดของตากับยาย และผ่านชีวิตอันควรจะทุกข์นั้นด้วยใจที่เข้มแข็ง
 รูปแบบการอยู่อาศัยของคนชนบทว่ามีความแตกต่างจากคนในเมือง เช่น การเดินโดยเรือ แต่คนในเมื่อใช้รถยนต์
ด้านที่อยู่อาศัย ที่ชนบทเป็นบ้านทรงไทย แต่คนในเมืองส่วนมากอยู่คอนโด
สภาพสิ่งแวดล้อม-ชนบทมีสิ่งแวดล้อมที่ดีกว่า ในเมือง ซึ่งมีแต่ ควันพิษจากท่อไอเสีย
ตอนที่แม่ของกะทิใกล้ตาย แม่ของกะทิตัดสินไม่ต่อชีวิตตนเอง แต่เลือกที่จะได้มีโอกาสพูดคุยกับกะทิในช่วงเวลาสุดท้ายของชีวิต เพราะถ้าเลือกต่อชีวิต แม่จะต้องถูกเจาะคอ แล้วจะไม่มีโอกาสพูดกับกะทิ อีกเลย ทำให้เรามีกำลังใจที่จะดำเนินชีวิตต่อไป ทิ้งอดีตที่ผ่านไปแล้วไว้แค่เพียงเป็นเงาไม่จำเป็นต้องไปคิดถึงมันเพราะมันไม่มีตัวตน อดทนต่อสิ่งเลวร้ายที่ผ่านเข้ามา และท่องไว้ว่าเดี๋ยวมันก็ผ่านไป อนาคตและอดีต ไม่สำคัญปัจจุบันทำให้ดีที่สุด ยังมีคนอีกมากมายที่ทุกข์กว่าเรา ชีวิตคนเราไม่แน่ไม่นอน จะทำอะไรก็ควรรีบทำ การที่เราจะมีความสุขนั้นขึ้นอยู่กับตัวเรา ไม่ใช่สิ่งที่อยู่รอบกาย ชีวิตของคนเรามีทั้งสุขและทุกข์ 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น